วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

ขมิ้นชันสมุนไพรเหนือสมุนไพร


สมุนไพร : ขมิ้นชัน 



ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Curcuma loga Linn., Curcuma domestica Valeton.
ชื่อวงศ์ Zingiberaceae ชื่อท้องถิ่น ขมิ้นแกง, ขมิ้นชัน, ขมิ้นหยวก, ขมิ้นหัว, ยากยอ, สะยอ, หมิ้น
ส่วนที่ใช้คือ เหง้าสดและแห้ง

ขมิ้นชันมีประโยชน์ และสรรพคุณ หลายประการดังนี้
  1. มีวิตามิน A, C, E เมื่อข้าสู่ร่างกายจะทำงานพร้อมกันทั้ง 3 ตัว มีผลทำให้ช่วยลดไขมันในตับ
  2. สมานแผลภายในกระเพาะอาหาร
  3. ช่วยย่อยอาหาร
  4. ทำความสะอาดให้ลำไส้
  5. เปลี่ยนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ
  6. ต้านอนุมูลอิสระป้องกันการเกิดมะเร็งในตับ
  7. สร้างภูมิคุ้มกันให้กับผิวหนัง
  8. กำจัดเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหารที่กินเข้าไปแล้วสะสมในร่างกายเตรียมก่อตัวเป็นเซลล์มะเร็ง
  9. ช่วยขับน้ำนมสำหรับสตรีหลังคลอดบุตรได้ดี รองมาจากการกินหัวปลี
กินขมิ้นชันให้เป็นอาหาร ใช้ปรุงอาหารกิน ทอดปลาคลุกขมิ้นชันก็ดี ทำให้หอมน่ากินและยังได้ประโยชน์อีกด้วย เพราะตัวขมิ้นชันจะช่วยย่อยไขมันจากน้ำมันที่ใช้ทอดปลาได้บางส่วน

ถ้ากินขมิ้นชันสดๆ ต้องปอกเปลือกก่อน แต่ถ้าทำขมิ้นชันบดเป็นผงต้องนำขมิ้นชันมาต้มน้ำให้เดือดสักพักหนึ่ง แล้วตักออกนำมาผึ่งให้เย็นหั่นเป็นแว่นเล็กๆ ตากแดดจนแห้ง อาจจะตากหลายครั้ง แล้วถึงจะนำมาบดให้เป็นผง ถ้าใช้เครื่องอบให้ขมิ้นชันแห้ง ความร้อนควรไม่เกิน 65 องศา ถ้าความร้อนเกินอาจเกิดสารสเตรอยด์ได้

กินขมิ้นชันให้ตรงเวลาที่อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายเปิดการทำงานในช่วงเวลานั้น จะได้ผลตรงประเด็นที่ต้องการจะบำรุง หรือแก้ไขฟื้นฟูของระบบของอวัยวะ กินเพียง 1 แคปซูลเท่านั้น จะออกฤทธิ์มากกว่าเวลาอื่นถึง 40 เท่าตัว แต่ถ้ามีปัญหาหลายอย่างก็กินครั้งละ 1 แคปซูล ทุกๆ 2 ชั่วโมง ถ้ากินในจำนวนมาก ส่วนที่เหลือจะไปขับไขมันในตับ
นาฬิกาชีวิต (ความสัมพันธ์ของอวัยวะกับเวลา)
 
ช่วงเวลาเป็นเวลาของ
03.00 - 05.00 น.ปอด
05.00 - 07.00 น.ลำไส้ใหญ่
07.00 - 09.00 น.กระเพาะอาหาร
09.00 - 11.00 น.ม้าม
11.00 - 13.00 น.หัวใจ
13.00 - 15.00 น.ลำไส้เล็ก
15.00 - 17.00 น.กระเพาะปัสสาวะ
17.00 - 19.00 น.ไต
19.00 - 21.00 น.เยื่อหุ้มหัวใจ
21.00 - 23.00 น.พลังงานรวม
23.00 - 01.00 น.ถุงน้ำดี
01.00 - 03.00 น.ตับ


กินขมิ้นชันตามเวลาต่อไปนี้จะได้ผลโดยตรงกับอวัยวะส่วนนั้น

( เวลา 03.00 - 05.00 น. ) ช่วยบำรุงปอด ป้องกันการเป็นมะเร็งปอด ช่วยทำให้ปอดแข็งแรง ช่วยเรื่องภูมิแพ้ของจมูกที่หายใจไม่สะดวก และช่วยสร้างภูมิคุ้มกันที่ผิวหนัง

( เวลา 05.00 - 07.00 น. ) ช่วยแก้ไขปัญหาลำไส้ใหญ่ ถ้าเคยกินยาถ่ายมาเป็นเวลานาน ให้กินขมิ้นชันในเวลานี้ ขมิ้นชันจะฟื้นฟูปลายประสาทของสำไส้ใหญ่ ต้องกินเป็นประจำ ถึงจะทำให้ลำไส้ใหญ่บีบรัดตัวเพื่อขับถ่ายอย่างปกติ แก้ไขปัญหาลำไส้ใหญ่กลืนลำไส้เล็ก หรือลำไส้ใหญ่มีปัญหาถ่ายมากเกินไปหรือถ่ายน้อยเกินไป แต่ถ้าลำไส้ใหญ่ไม่มีปัญหา ให้กินขมิ้นชันพร้อมกับสูตรโยเกิต+นมสด+น้ำผึ้ง+มะนาว หรือนำอุ่นก็ได้ จะไปช่วยล้างผนังลำไส้ที่มีหนวดเป็นขนเล็กๆอยู่เป็นล้านๆเส้น ซึ่งขนเหล่านี้มีหน้าที่ดูดซึมสารอาหารเพื่อไปสร้างเม็ดเลือด ขมิ้นชันจะช่วยล้างให้สะอาดได้ ก็จะไม่ค่อยมีขยะตกค้าง จึงไม่เกิดแก๊สพิษที่ทำให้เกิดกลิ่นตัว และจะไม่ค่อยเป็นริดสีดวงทวาร ไม่เป็นมะเร็งลำไส้

( เวลา07.00 - 09.000 น. ) ช่วยแก้ปัญหาเรื่องกระเพาะอาหาร เกิดจากการกินข้าวไม่เป็นเวลา ท้องอืด จุกแน่น ปวดเข่า ขาตึง ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันความจำเสื่อม

( เวลา 09.00 - 11.00 น. ) ช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำเหลืองเสีย มีแผลในปาก อ้วนเกินไปผอมเกินไปที่เกี่ยวข้องกับม้าม ลดอาการเป็นเก๊าต์ ลดอาการเบาหวาน

( เวลา 11.00 -13.00 น. ) ใครมีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ หรือไม่มี ก็กินขมิ้นชันเวลานี้ จะช่วยบำรุงหัวใจให้แข็งแรง ถ้าเลย 11.00 น. ไปแล้ว ขมิ้นชันจะไปทำงานที่ตับแล้วตับจะส่งมาที่ปอด ปอดจะส่งไปที่ผิวหนัง แต่ส่วนมากมาไม่ถึงเพราะกินขมิ้นชันน้อยเกินไป

( เวลา 13.00 - 15.00 น. ) ช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องปวดท้องบ่อย เพราะมีไขมันเกาะลำไส้เล็ก ไขมันที่เคลือบลำไส้จะเคลือบขยะเอาไว้ด้วยแล้วสะสมกัน ทำให้เกิดแก๊ส และมีอาการปวดท้องตอนบ่ายในช่วงเวลานี้ ถ้ากินสูตรโยเกิต+นมสด+น้ำผึ้ง+มะนาว และขมิ้นชัน จะช่วยล้างลำไส้เล็กได้ดีที่สุด สูตรโยเกิตนี้ตัวจุลินทรีย์จะช่วยเปลี่ยนขยะในลำไส้เล็กให้เป็น บี 12 เพื่อส่งไปเลี้ยงสมองต่อไป

( เวลา 15.00 - 17.00 น. ) ช่วยดูแลหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง แก้ปัญหาเรื่องตกขาวของสตรี และควรกินน้ำกระชายเวลานี้ด้วย จะช่วยดูแลหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง ช่วงเวลานี้ควรทำให้เหงื่อออกจะดีมาก เพราะร่างกายต้องการขับสารพิษให้ได้มากที่สุดในเวลานี้

กินเลยเวลาจากช่วงนี้จนไปถึงการกินก่อนนอน ขมิ้นชันจะไปช่วยเรื่องความจำให้ความจำดี ตื่นนอนขึ้นมาตอนเช้าจะไม่ค่อยเพลีย และช่วยให้ขับถ่ายดีขึ้น การกินขมิ้นชันมากจะช่วยขับไล่ไรฝุ่นที่ผิวหนังไม่ให้เป็นผดผื่นคันง่ายๆ และช่วยขับไขมันในตับ ถ้ากินในปริมาณมาก

การกินขมิ้นชัน แบบผงหรือบรรจุแคปซูล ควรเลือกซื้อจากผู้ผลิตที่มีมาตรฐานและสะอาดเชื่อถือได้ ไร้สารเคมีไม่มีสเตอรอย์ที่เกิดจากการอบแห้งด้วยความร้อนเกิน 65 องศา ควรตัดสินใจเอง เพราะเราจะต้องกินทุกวัน ก็ควรกินให้ปลอดภัยและสบายใจ

ถ้ากินขมิ้นชัน แบบผง 1 ช้อนชา ใช้ผสมน้ำ 1 แก้ว(ไม่เต็ม) ขมิ้นชันจะไหลผ่านส่วนต่างๆ ตั้งแต่
  • ผ่านลำคอ ช่วยขับไล่ไรฝุ่นที่ลำคอ แล้วไปผ่านปอดช่วยดูแลปอดให้หายใจดีขึ้น
  • ผ่านม้าม ก็ลดไขมัน และปรับน้ำเหลืองไม่ให้น้ำเหลืองเสีย
  • ผ่านกระเพาะอาหาร ก็จะรักษาแผลในกระเพาะอาหาร
  • ผ่านลำไส้ ก็สมานแผลในลำไส้
  • ผ่านตับ ก็ไปบำรุงตับ ล้างไขมันในตับ



เอกสารอ้างอิง :
จากหนังสือ กินเป็น ลืมป่วย ล้างพิษในร่างกาย

วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

น้อยหน่าฆ่าเหา


chaybeer

ในปี พ.ศ. 2523 เภสัชกรหญิงอรนุช พัวพัฒนกูลและคณะ ได้ทดลองใช้เมล็ดน้อยหน่าบดคั้นกับน้ำมันมะพร้าวในอัตราส่วน 1 : 2 ทำเป็นน้ำยาฆ่าเหา ได้ผลไหม ?
ครับ น้ำยาเมล็ดน้อยหน่า ฆ่าเหาได้ถึง 98% ในเวลา 2 ชั่วโมง กลายเป็นภูมิปัญญา ที่เหมาะกับสังคมชนบท เพราะน้อยหน่าหาง่าย ปลูกแทบทุกครัวเรือน (และเหาก็หาง่าย แทบทุกครัวเรือนเช่นกัน)
น้อยหน่าเป็นพืชที่นิยมปลูกทั่วเมืองไทยและปลูกมากเป็นพิเศษทางภาคอีสาน เด็กชอบน้อยหน่าเพราะมีน้ำตาลผลไม้มาก ลูกสุกๆ หวานจัด กินแล้วให้พลังงานรวดเร็ว มีแรงไปวิ่งตะลอนๆ ตามเพื่อนต่อไป
อันที่จริง นอกจากน้ำตาล น้อยหน่ายังมีสารอาหารหลายชนิด มีแคลเซียมบำรุงกระดูก และวิตามินซีอยู่ในปริมาณพอควร ไม่มีเบต้าแคโรทีนเหมาะจะกินเสริมกับผลไม้ชนิดอื่น เพื่อความหลากหลาย
ผลไม้เหม็นเขียวลูกหน้าชังชนิดนี้ เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่คนไทย จนนึกเอาว่า น้อยหน่าเป็นผลไม้ไทย บางคนไปเห็นชาวออสเตรเลียปลูกน้อยหน่า ทึกทักเอาว่า เขาแอบขโมยพันธุ์ไม้เมืองไทยไปปลูก
ไม่ใช่สักหน่อย น้อยหน่าเป็นผลไม้ต่างประเทศที่นำเข้าเมืองไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา เชื่อว่า น้อยหน่ามีถิ่นกำเนิดอยู่แถวอเมริกากลาง ชาวโปรตุเกสได้นำน้อยหน่ามาปลูก ในอินเดียเมื่อหลายร้อยปีก่อน ต่อมาจึงเดินทางเข้าสู่สยามประเทศ บันทึกทูตชาวฝรั่งเศส ที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้กล่าวถึงน้อยหน่าไว้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2230-2231 ในระยะแรกปลูกกันแถบลพบุรี อยุธยา ทุกวันนี้น้อยหน่าพันธุ์ดี ของลพบุรีมีชื่อว่า " น้อยหน่าพระที่นั่งเย็น " หรือ " น้อยหน่าพระนารายณ์ "
ชาวพื้นเมืองอเมริกากลางเรียกน้อยหน่าว่า แอนโนน่า (Annona) ซึ่งแผลงมาเป็นน้อยหน่า ตามลิ้นคนไทย แต่ชื่อที่เป็นมาตรฐานสากล (ชื่อวิทยาศาสตร์) คือ Annona squamosa Linn ในวงศ์ Annonaceae ฝรั่งเรียกน้อยหน่าว่า Sugar Apple หรือ Sweet sop
น้อยหน่ามีญาติพี่น้องทั่วโลกราว 50 ชนิด แต่ที่รับประทานได้มีเพียง 5 ชนิด คือ น้อยหน่า น้อยโหน่ง ทุเรียนน้ำ ชิริโมยา (เป็นน้อยหน่าพันธุ์ที่นิยมทั่วโลก) และอิมาลาซึ่งปลูกมากในอเมริกากลาง
สายพันธุ์พืชจำพวกน้อยหน่าจะมีเอกลักษณ์ที่ผล ผลของพืชจำพวกน้อยหน่า มีลักษณะคล้ายหัวใจบันทึกสมัยโบราณเคยเรียกน้อยหน่าว่า ลูกหัวใจวัว
น้อยหน่าหนึ่งผล มีเนื้อและเมล็ดมากมาย เพราะมันเป็นผลไม้จำพวกผลกลุ่ม คือมีหลายรังไข่ รังไข่แต่ละอันจะเจริญเป็นผลย่อย ติดอยู่บนฐานเดียวกัน เปลือกแต่ละผล ย่อมหลอมรวมเข้าเป็นผืนเดียวกันคลุมด้านนอก ส่วนเนื้อน้อยหน่าก็คือเนื้อของรังไข่ ที่เจริญขึ้นมานั่นเอง
สายพันธุ์น้อยหน่าในไทย มีหลายชนิด แต่ที่นิยมบริโภคในปัจจุบันคือ น้อยหน่าหนัง ซึ่งเป็นสายพันธุ์มาจากเวียดนาม นำเข้ามาปลูกครั้งแรกที่อุบลราชธานีในปี พ.ศ.2475
ยังมีพืชในสกุลนี้อีกสองสองชนิดที่คล้ายน้อยหน่า คือน้องโหน่ง ซึ่งมีผลโตกว่าน้อยหน่า หนังสีน้ำตาลแดงหรือชมพูเวลาสุก เนื้อเป็นสีขาว รสชาติออกทางมันไม่ค่อยหวาน คุณค่าทางอาหารคล้ายกัน แต่มีวิตามินเอสูงกว่า ปลูกประปรายทางภาคอีสานและกลาง และอีกชนิดหนึ่งคือทุเรียนน้ำ ปลูกมากทางภาคใต้ ทุเรียนน้ำมีผลใหญ่ที่สุด ในบรรดาพืชจำพวกน้อยหน่า บางครั้งผลหนักกว่า 2 กิโลกรัม ดูคล้ายขนุนลูกเล็กๆ ผลสุกสีเขียวปนน้ำตาลอ่อน เนื้อหวานอมเปรี้ยว วิตามินซีสูง นิยมคั้นน้ำดื่มชุ่มคอ
ในใบและเมล็ดน้อยหน่า มีสารเคมีชื่อ Anonaine เด็ดใบมาตำให้แหลก คลุกกับน้ำมันพืชใช้พอกหัวฆ่าเหาได้ดี แต่ต้องระวังไม่ให้เข้าตาจะเกิดอาการอักเสบ ฤทธิ์ฆ่าเหาเกิดจากสาร Anonaine ในใบและเมล็ด นอกจากนี้ในส่วนเมล็ดยังมีน้ำมัน อยู่ประมาณ 45% ประกอบด้วยกรดอินทรีย์อัลกาลอยด์เรซิน สเตียรอยด์ และอื่นๆ อีกหลายชนิด
ดังนั้น กินน้อยหน่าอย่าทิ้งเมล็ด ลองตรวจดูผมลูกๆ เห็นเหาละก้อ ไม่ต้องซื้อหายาฝรั่งราคาแพง จัดการเลย ด้วยกระบวนท่า เมล็ดน้อยหน่า อาละวาดพิฆาตเหา